หัวข้อ : การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

จำนวนคนเข้าชม : 19995
Update :20/08/2009 เวลา 15:03 น.
Web เพิ่มเติม WWW.ARKARNSIN.COM

รายละเอียด

การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า

*การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้า *แนวทางการดูแลรักษามอเตอร์ การดูแลมอเตอร์ในขณะที่มอเตอร์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้จะมีสองแนวทางดังนี้
       1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance) ซึ่งการบำรุงรักษาในลักษณะนี้จะมีการตั้งเวลาชั่วโมงการทำงาน และแต่ละค่าของชั่วโมงการทำงานจะมีลักษณะการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน แต่การบำรุงรักษาลักษณะนี้จะป้องกันมอเตอร์จากการเกิดปัญหาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น และยังอาจเกิดผลเสียขึ้นโดยรวมเช่น -แปรงถ่านอาจจะแตกหักก่อน 2,000 ชม. ทำให้เกดการหยุดมอเตอร์ก่อน 2,000 ชม. -ตลับลูกปืนอาจเสียจะหายก่อน 10,000 ชม. ทำให้มอเตอร์ไหม้หรือเสียหายได้
 
     2. การบำรุงเชิงพยากรณ์(Predictive Maintenance)ซึ่งจะทำโดยการตั้งชั่วโมงการทำงานเพื่อเข้าตรวจเช็ค และจาก,การตรวจเช็คนี้จะนำไปวิเคราะห์ดูแนวโน้มของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันความเสียหาย จะมี 2 ขั้นตอนดังนี้ขั้นที่ 1 กำหนดชั่วโมงทำงานเข้าตรวจเช็คขั้นที่ 2 นำข้อมูลจากขั้นที่ 1 มาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบแนวโน้ม และเทียบกับค่ามาตรฐาน ตรวจสอบหาสาเหตุ และทำการแก้ไขข้อควรรู้ก่อนการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ เพื่อให้อ้างอิงถึงค่าที่มีการกำหนดเหมือนๆกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้น ตัวอย่างเช่น ในอเมริกาจะอ้างถึงNEMAหรือ IEEE ในขณะที่ยุโรปอาจจะอ้างถึง IEC DINV VDE โดยแต่ละมาตรฐานจะมีข้อทดสอบที่นำมาเป็นค่ามาตรฐานว่าค่าเท่าไหร่ที่ยอมรับได้ มาตรฐานต่างๆเหล่านี้ สามารถหาอ่านได้ที่ห้องสมุดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือห้องสมุดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั่วๆไป หรือศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย การบำรุงรักษามอเตอร์ การบำรุงรักษามอเตอร์มีขั้นตอนและข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้1. ทำรายการตรวจสอบ ของชุดที่ควรทำการตรวจเช็คและกำหนดชั่วโมงการเข้าตรวจเช็ค2. เข้าตรวจเช็คตามชั่วโมงที่กำหนด
 
        3. วิเคราะห์ดูแนวโน้มของข้อมูล4. ทำการแก้ไขมอเตอร์ที่มีแนวโน้มบางอย่างไม่ดี แล้วทำการตรวจเช็คอีกครั้งหนึ่ง ข้อควรปฏิบัติ1. ขณะมอเตอร์ยังใช้งานอยู่-ควรเติมจาระบีกรณีครบรอบหรือแบริ่งมีเสียงดัง-ตรวจดูการระบายความร้อน มีอะไรขวางทางลมหรือการระบายอากาศหรือไม่2. ขณะมอเตอร์หยุดนิ่ง-กรณีไม่มีความเสียหายให้ขันจุดต่อของไฟฟ้าและสภาพทั่วไปของการต่อเครื่องจักรหรือโหลด-กรณีเสียหายต้องถอดมอเตอร์มาเปิดตรวจเช็คจุดต่างๆ3. การพิจารณาดูค่าจากการตรวจเช็คต่างๆ บางครั้งสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานได้4. ในกรณีที่มอเตอร์เกิดความสกปรกมาก และต้องการล้างสิ่งสกปรกออก ควรถอดแยกชิ้นส่วนมอเตอร์ก่อน แล้วแยกล้างเป็นชิ้นส่วนโดยการล้างอาจจะใช้น้ำสะอาด, สารละลายต่างๆ ที่มีคุณสมบัติที่ไม่กัดกร่อน แล้วนำชิ้นส่วนที่ล้างแล้วเหล่านั้นอบให้แห้งสนิทก่อนจะประกอบใหม่ หมายเหตุ หลังจากอบแห้งแล้วอาจะนำสเตเตอร์หรือโรเตอร์ ที่มีขดลวดมาจุ่มวาร์นิช(dip) เพื่อเป็นการปิดรอยแตกต่างๆ(crack)ของพวกฉนวน เป็นการยืดอายุของฉนวน

รูปภาพเพิ่มเติม





Zoom Picture